วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สรรพคุณของผลลูกยอ (ส่วนผสมสารสกัดใน Viva Plus)


"ราชินีแห่งพืชสมุนไพร"


*** ลักษณะทั่วไป ***

   ยอ เป็นไม้ขนาดกลาง  ใบใหญ่เขียวเป็นมัน ดอกสีขาว ผลยาวรีมีปุ่มรอบผล  เมื่ออ่อนผลสีเขียวสด, ผลแก่จัดจะเป็นสีขาวนวล  โดยจะออกผลตลอดปี  จึงมีผลผลิตของน้ำลูกยอซึ่งสามารถผลิตได้อย่างต่อเนื่อง

*** สรรพคุณของผลลูกยอ ***

    ยอ  เป็นสมุนไพรไทยพื้นบ้านที่คนไทยทั่วทุกภาครู้จัก และ บริโภคเป็นอาหารมานาน ทั้งในส่วนของใบ และ ผล  ผลยอมีวิตามินซีสูง  สารโพลีแซคคาไรด์ที่ได้จากน้ำตาลในผลลูกยอจะออกฤทธิ์ต้านมะเร็งโดยผ่านระบบภูมิคุ้มกัน และ สารโปรเซโรนีน จะกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวให้มีประสิทธิภาพ, ลดอาการภูมิแพ้, ช่วยให้การทำงานของเซลล์ในร่างกายเป็นปกติ
    ยอ  มีรสเผ็ดร้อน  ในทางยาใช้เป็นยาระบาย, ช่วยในการขับลมในลำไส้, แก้คลื่นเหียนอาเจียน, ช่วยย่อยอาหาร  จึงนิยมนำมาใช้ทำยารักษาโรคท้องอืดท้องเฟ้อ
    ยอ  ก็เป็นยาชั้นยอดในการขับลม, เป็นยาอายุวัฒนะ, ช่วยบำรุงธาตุ, ระบายท้อง  ผู้หญิงควรกินลูกยอที่แก่จัดเพื่อบำรุงเลือดลม, ปวดท้องประจำเดือน, รักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ  คนโบราณเชื่อว่าถ้าเลือดลมดีผิวพรรณก็จะเปล่งปลั่ง, สดใส, ไม่เป็นสิวฝ้า
    ยอ  จึงเป็นสมุนไพรที่เป็นยาอายุวัฒนะของสังคมไทย  เพราะนอกจากจะมีคุณค่าทางอาหารสูงแล้ว ยังเป็นปัจจัยที่จะทำให้ร่างกายเป็นปกติ โดยไม่เสียสมดุล

การดื่มน้ำลูกยอเป็นประจำทุกวันอย่างต่อเนื่อง  จะส่งผลให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง


จากผลงานการวิจัย  ได้ทำการวิจัยลูกยอไทย 

ค้นพบสารสำคัญต่างๆ

ที่ดี และ มีประโยชน์มากมาย  ดังนี้.

*** ประโยชน์ทางยา *** 

    ตำรายาไทยใช้ผลสด, ดิบ หรือ ห่าม ฝานเป็นชิ้นบาง ย่าง หรือ คั่วไฟอ่อน ๆ ให้เหลือง ต้ม หรือ
 ชงกับน้ำ  ดื่มแก้คลื่นไส้อาเจียน  นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณอื่น ๆ อีก คือ บำรุงเลือดลม,
ลดความดันโลหิตสูง, ขับลม และ ช่วยย่อยอาหาร

*** สารที่ออกฤทธิ์ ***

    สารประกอบทางเคมีที่สำคัญในน้ำลูกยอ ได้แก่ โปรเซอโรนีน (Perxeronine),
โปรเซอโรเนส (Perxeroninase), เซอโรนีน (Xeronine), เซอโรโทนีน (Serotonin),
สโคโพลิติน (Scopoletin), เทอปีนส์ (Terpenes), แอนทราควิโนน (Anthraquinones) 
และ แดมนาแคนทาล (Damnacantal) เป็นต้น
    นอกจากนี้ในยอยังพบสารอินทรีย์อื่น ๆ ที่จัดเป็นทั้งอาหาร และ ยา เช่น
ไบโอเฟลโวนอยด์ (Bio-flavonoid),กรดอะมิโน, สารจำพวกเอนไซม์ (Enzyme),
โคเอนไซม์ (Coenzyme) ตลอดจนวิตามิน และ เกลือแร่อีกเป็นจำนวน 153 ชนิดด้วยกัน

ขอขอบคุณข้อมูล : โดย ภารกิจโครงการ และ ประสานงานวิจัย 
                             สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)   



ธุรกิจ อารากอนเวิลด์54
ช่องทางสู่อิสระภาพทางการเงินและเวลา
ที่ทันสมัยที่สุด!!! ในเวลานี้...
สนใจร่วมธุรกิจกับเรา คลิ๊ก!!!








\



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น