วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

คุณค่าจากเมล็ดองุ่น (สารสกัดใน Viva Plus)


คุณค่าจากเมล็ดองุ่น

เมล็ดองุ่นมีสารประกอบที่สำคัญคือ วิตามินอี flavonoids, linoleic acid, และ OPCs เปลือกของผลองุ่นก็มีสารประกอบเหล่านี้เช่นเดียวกัน แต่มีปริมาณน้อยกว่า ในน้ำองุ่นและไวน์ก็มีสารประกอบ OPCs เช่นเดียวกัน แต่มีปริมาณน้อยกว่าในเมล็ด นอกจากนั้น ผลองุ่นยังมีสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มเดียวกับ OPCs อีกชนิดหนึ่งเรียกว่า resveratrol ซึ่งส่วนใหญ่พบในบริเวณผิวหนัง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน และกำลังอยู่ระหว่างการศึกษาถึงคุณสมบัติในการบำบัดรักษาโรคหลายชนิด





สารสกัดจากเมล็ดองุ่น 
คุณค่าทางยาและโภชนาการขององุ่น ได้รับการยอมรับมาเป็นเวลายาวนานหลายพันปีแล้ว ชาวอียิปต์รับประทานองุ่นกันมาเป็นเวลากว่า 6 พันปี บรรดานักปราชญ์ชาวกรีกโบราณชื่นชมสรรพคุณทางยาของผลองุ่น โดยเฉพาะในรูปของไวน์ หมอพื้นบ้านในยุโรปใช้น้ำมันที่สกัดจากเถาองุ่นในการรักษาโรคผิวหนังและโรคตา
ใบองุ่นมีสรรพคุณในการห้ามเลือด ลดอาการอักเสบและเจ็บปวดอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพบางชนิด อาทิ ริดสีดวงทวาร เป็นต้น ผลองุ่นที่ยังไม่สุกมีสรรพคุณในการรักษาอาการเจ็บคอ ผลองุ่นตากแห้งมีสรรพคุณในการรักษาอาการท้องผูกและร้อนใน
ผลองุ่นสุกมีสรรพคุณในการรักษาโรคหลายชนิด รวมทั้งมะเร็ง อหิวาตกโรค ฝีดาษ อาการคลื่นเหียน ตาแดง และโรคที่เกี่ยวกับผิวหนัง ไตและตับ
เชื่อกันว่า สารเคมีหลายชนิดในผลองุ่น โดยเฉพาะ oligomeric proanthocyanidin complexes (OPCs) มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) บางคนเชื่อว่าสารเหล่านั้นมีสรรพคุณทางยาในการรักษาโรคหลายชนิด ตั้งแต่โรคหัวใจไปจนกระทั่งถึงโรคมะเร็งและทำให้ผิวหนังเต่งตึง แม้จะยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันชัดเจนก็ตาม
อย่างไรก็ดี มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันชัดเจนว่า สารสกัดจากเมล็ดองุ่นมีสรรพคุณในการรักษาโรคเส้นเลือดขอด (chronic venous insufficiency-- CVI) และโรคบวมน้ำ (Edema) การศึกษาจากอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีกลุ่มหนึ่งพบว่า การรับประทานสารสกัดจากเมล็ดองุ่นทำให้ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
สารต้านอนุมูลอิสระนั้น มีคุณสมบัติช่วยทำลายอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสารพิษในร่างกายที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ บางกรณีอาจทำให้เซลตายได้ เชื่อกันว่าอนุมูลอิสระเป็นต้นเหตุของการชราภาพ รวมทั้งก่อให้เกิดโรคร้ายแรงหลายชนิด รวมทั้งโรคหัวใจและมะเร็ง
ลักษณะขององุ่น 
องุ่นเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียบริเวณใกล้ ๆ ทะเลแคสเปียน แต่ถูกนำไปปลูกในอเมริกาเหนือและยุโรปในเวลาต่อมา องุ่นเป็นไม้เถา มีใบขนาดใหญ่ลักษณะเป็นแฉก เถาองุ่นมีเปลือกที่ลอกออกได้เองเมื่อแก่จัด ผลองุ่นมีหลายสี อาทิ เขียว แดง และม่วง     
สารสำคัญในองุ่น
เมล็ดองุ่นมีสารประกอบที่สำคัญคือ วิตามินอี flavonoids, linoleic acid, และ OPCs เปลือกของผลองุ่นก็มีสารประกอบเหล่านี้เช่นเดียวกัน แต่มีปริมาณน้อยกว่า ในน้ำองุ่นและไวน์ก็มีสารประกอบ OPCs เช่นเดียวกัน แต่มีปริมาณน้อยกว่าในเมล็ด นอกจากนั้น ผลองุ่นยังมีสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มเดียวกับ OPCs อีกชนิดหนึ่งเรียกว่า resveratrol ซึ่งส่วนใหญ่พบในบริเวณผิวหนัง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน และกำลังอยู่ระหว่างการศึกษาถึงคุณสมบัติในการบำบัดรักษาโรคหลายชนิด
ประโยชน์ทางการแพทย์และแนวโน้ม
ปัจจุบันมีการใช้สารสกัดจากเมล็ดองุ่นในการเยียวยาปัญหาสุขภาพหลายชนิดที่เกิดจากพิษของอนุมูลอิสระ อาทิ โรคหัวใจ เบาหวาน และมะเร็ง เป็นต้น ผลการศึกษาในสัตว์ทดลองสนับสนุนการใช้สารสกัดจากเมล็ดองุ่นในการรักษาโรคเหล่านั้น
ผลการศึกษาพบว่า สาร flavonoids ที่พบในไวน์แดงช่วยลดปริมาณโคเลสเตอรอล LDL ซึ่งเป็นโคเลสเตอรอลชนิด “เลว” ทำให้หัวใจแข็งแรง กล่าวกันว่าชาวฝรั่งเศสมีสถิติเป็นโรคหัวใจน้อยกว่าชาวอเมริกันอย่างเห็นได้ชัด ทั้งที่นิยมรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงเหมือนกัน เนื่องจากชาวฝรั่งเศสนิยมดื่มไวน์แดง
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันได้ชัดเจนว่า สารสกัดจากเมล็ดองุ่นช่วยลดการเป็นโรคหัวใจได้จริงหรือไม่ นักวิจัยบางรายชี้ว่า ชาวฝรั่งเศสส่วนใหญ่มีสุขภาพหัวใจดีเพราะแอลกอฮอล์จากไวน์มากกว่าสาร flavonoids ขณะที่นักวิจัยอีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่า ทั้งแอลกอฮอล์และสาร flavonoids ต่างก็มีส่วนช่วยให้ชาวฝรั่งเศสมีสุขภาพหัวใจแข็งแรง
สมาคมสุขภาพหัวใจอเมริกัน (American Heart Association) และองค์การด้านสุขภาพอีกหลายองค์กรไม่สนับสนุนการดื่มแอลกอฮอล์เพื่อป้องกันโรคหัวใจ ด้วยเหตุผลว่า การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ มีความเสี่ยงต่อการเสพติดและปัญหาร้ายแรงอื่น ๆ เช่น อุบัติเหตุในการขับขี่รถยนต์ เป็นต้น ทั้งยังมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคตับ โรคมะเร็งเต้านม และโรคอ้วน อีกต่างหาก ผลการศึกษาพบว่าผู้ชายไม่ควรดื่มไวน์เกินกว่าวันละ 2 แก้วและผู้หญิงไม่ควรดื่มไวน์เกินกว่าวันละ 1 แก้ว









โรคเส้นเลือดขอด
โรคเส้นเลือดขอด หรือ CVI คืออาการเส้นเลือดขอดที่บริเวณขา เห็นเส้นเลือดปูดโปนขึ้นมาอย่างชัดเจน ทำให้เส้นเลือดและผิวหนังตึงและเจ็บปวด รายงานผลการศึกษาที่เชื่อถือได้จากหลายสำนักยืนยันว่า สาร OPCs จากเมล็ดองุ่นช่วยบรรเทาอาการของโรคนี้ได้


อาการบวมน้ำ
อาการบวมน้ำ (Edema) เป็นอาการบวมอันเนื่องมาจากการเกิดบาดแผลหรือการผ่าตัด ผลการศึกษาพบว่า การรับประทานสารสกัดจากเมล็ดองุ่นช่วยให้หายจากอาการบวมน้ำในได้เร็วขึ้น อาการบวมน้ำมักจะเกิดขึ้นเป็นปกติหลังการผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านม
ผลการศึกษาจากผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมพบว่า การรับประทานสารสกัดจากเมล็ดองุ่นวันละ 600 มิลลิกรัม เป็นเวลา 6 เดือนหลังการผ่าตัด ช่วยลดอาการบวมน้ำและอาการปวดแผลได้มากกว่าการใช้ยาหลอก (placebo) ตามปกติโดยทั่วไป นอกจากนั้น การศึกษาอีกรายหนึ่งยังพบว่า การรับประทานสารสกัดจากเมล็ดองุ่นหลังได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ช่วยลดอาการปวดและบวมที่บริเวณบาดแผลได้มากกว่าการรับประทานยาหลอก (placebo)



โคเลสเตอรอลสูง
ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันได้ชัดเจนว่า การรับประทานสารสกัดจากเมล็ดองุ่นช่วยลดโคเลสเตอรอลได้ แต่ผลการศึกษาเบื้องต้น 2 รายบ่งชี้ว่ามีแนวโน้มน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
การศึกษารายหนึ่ง ในกลุ่มอาสาสมัครที่มีโคเลสเตอรอลสูง 40 คน โดยกลุ่มหนึ่งให้รับประทานสารสกัดจากเมล็ดองุ่น อีกกลุ่มหนึ่งรับประทานโครเมี่ยม กลุ่มที่สามรับประทานสารสกัดจากเมล็ดองุ่นร่วมกับโครเมี่ยม และกลุ่มสุดท้ายให้รับประทานยาหลอก (placebo) ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 2 เดือน ผลการศึกษาพบว่า การรับประทานสารสกัดจากเมล็ดองุ่นร่วมกับโครเมี่ยม มีประสิทธิภาพในการลดโคเลสเตอรอล LDL ได้ดีกว่าการรับประทานสารสกัดจากเมล็ดองุ่นหรือโครเมี่ยมแต่เพียงอย่างเดียว
การศึกษาอีกรายหนึ่ง ทำในกลุ่มอาสาสมัครชายที่สูบบุหรี่แต่ยังมีสุขภาพดี 24 คน (อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากเมล็ดองุ่น ในการละลายไขมันในกระแสเลือด โดยให้อาสาสมัครกลุ่มหนึ่งรับประทานสารสกัดจากเมล็ดองุ่นวันละ 75 มิลลิกรัมต่อเนื่องกันเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งรับประทานยาหลอกในปริมาณเท่ากัน ผลการศึกษาพบว่าปริมาณโคเลสเตอรอล LDL ในกลุ่มอาสาสมัครที่รับประทานสารสกัดจากเมล็ดองุ่นลดลงอย่างเห็นได้ชัด


ความดันโลหิตสูง
ในทางทฤษฎี สารสกัดจากเมล็ดองุ่นน่าจะช่วยบำบัดโรคความดันโลหิตสูงได้ สารต้านอนุมูลอิสระที่พบในเมล็ดองุ่น มีคุณสมบัติช่วยปกป้องเส้นโลหิตไม่ให้เกิดความเสียหาย เส้นโลหิตที่เกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากการทำลายของอนุมูลอิสระ อาจก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้
ผลการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า สารสกัดจากเมล็ดองุ่น ช่วยลดความดันโลหิตลงได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่การทดลองในมนุษย์ยังไม่ปรากฏผลยืนยันชัดเจนว่า สารสกัดจากเมล็ดองุ่นช่วยรักษาหรือบรรเทาโรคความดันโลหิตสูงได้ 


มะเร็ง
ผลการศึกษาในห้องทดลองพบว่า สารสกัดจากเมล็ดองุ่น อาจช่วยลดการเติบโตของเซลมะเร็งในทรวงอก ในกระเพาะอาหาร ในลำไส้ ในต่อมลูกหมาก และในปอดได้ แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่า สารสกัดจากเมล็ดองุ่นสามารถใช้รักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งดังกล่าวข้างต้นได้จริง
เชื่อกันว่าสารต้านอนุมูลอิสระที่พบในเมล็ดองุ่น ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ และสารสกัดจากเมล็ดองุ่นอาจช่วยป้องกันความเสียหายของเซลตับที่เกิดจากการรักษาโรคด้วยวิธีเคมีบำบัดได้อีกด้วย ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ก่อนตัดสินใจใช้สารต้านอนุมูลอิสระร่วมกับเคมีบำบัด เพื่อความมั่นใจว่าจะไม่ก่อให้เกิดปฏิกริยาในเชิงลบ


โรคอื่น ๆ
แม้จะยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันชัดเจน แต่ปัจจุบันสารสกัดจากเมล็ดองุ่นก็ได้รับความนิยมในการใช้บำบัดโรคและฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกายหลากหลายรูปแบบ เช่น 


  • เบาหวาน (ใช้ควบคุมน้ำตาลในเลือด) 
  • เพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นในเวลากลางคืน 
  • ปกป้องคอลลาเจนและอีลาสตินในผิวหนัง (ลดการเหี่ยวย่น) 
  • บรรเทาริดสีดวงทวาร 
รูปแบบของสารสกัด
ปัจจุบันมีการผลิตสารสกัดจากเมล็ดองุ่นเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในหลายรูปแบบ อาทิ ชนิดแค็ปซูล ชนิดเม็ด และในรูปของสารสกัดชนิดน้ำ ผู้บริโภคควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์มาตรฐานที่มีปริมาณสาร proanthocyanidins 40-80% หรือ มีสาร OPC ไม่น้อยกว่า 95%


วิธีใช้
เด็ก ๆ ไม่ควรรับประทานสารสกัดจากเมล็ดองุ่น การรับประทานผลองุ่นสุก ที่สะอาดและปลอดภัย น่าจะเหมาะสมกว่า 


สำหรับผู้ใหญ่ ควรบริโภคสารสกัดจากเมล็ดองุ่นดังนี้ 
  • รับประทานสารสกัดมาตรฐาน (มีปริมาณ proanthocyanidins 40 - 80% หรือ ปริมาณ OPC 95%) ขนาด 25-150 มิลลิกรัม วันละ 1-3 ครั้ง เพื่อล้างพิษอนุมูลอิสระ 
  • รับประทาน 150-300 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อรักษาโรคเส้นเลือดขอด 
  • รับประทานวันละ 200-400 มิลลิกรัม เป็นเวลา 10-30 วัน เพื่อบรรเทาอาการบวมน้ำ
ข้อควรระวัง
การใช้สมุนไพรเพื่อการรักษาโรคหรือเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ มีวิวัฒนาการต่อเนื่องมาเป็นเวลายาวนาน แต่อย่างไรก็ตาม สมุนไพรแต่ละชนิดอาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียง หรือทำปฏิกริยากับสมุนไพรชนิดอื่น หรือสารอื่นที่ใช้ในทางยาได้ ดังนั้น จึงควรระมัดระวังในการเลือกใช้สมุนไพร ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานจากผู้ผลิตที่มีความเชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรอย่างแท้จริงเท่านั้น
การบริโภคสารสกัดจากเมล็ดองุ่นตามปริมาณที่กำหนดต่อเนื่องกันเป็นเวลา 12 สัปดาห์ ไม่มีอันตรายใด ๆ ต่อร่างกายมนุษย์ สตรีที่กำลังอยู่ระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ไม่ควรรับประทานสารสกัดจากเมล็ดองุ่น
ปัจจุบันยังไม่มีรายงานทางวิทยาศาสตร์บ่งชี้ถึงปฏิกริยาเชิงลบระหว่างสารสกัดจากเมล็ดองุ่นกับผลิตภัณฑ์ยาโดยทั่วไป แต่สาร OPCs ในเมล็ดองุ่นอาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียงดังต่อไปนี้
โลหิตแข็งตัวช้า (Anticoagulants) --- สารสกัดจากเมล็ดองุ่นอาจช่วยลดความข้นของเลือด เพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดอาการเลือดไหลไม่หยุดได้ ในกรณีใช้ร่วมกับยาละลายลิ่มเลือดชนิดอื่น เช่น warfarin (Coumadin) ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการใช้ยาละลายลิ่มเลือด หรือ มีปัญหาเลือดแข็งตัวช้า ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้สารสกัดจากเมล็ดองุ่น


***********

บทความนี้แปลจากเว็บไซต์ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแมรีแลนด์ (University of Maryland MedicalCenter) สหรัฐอเมริกาhttp://www.umm.edu/altmed/articles/grape-seed-000254.htm 



ธุรกิจ อารากอนเวิลด์54
ช่องทางสู่อิสระภาพทางการเงินและเวลา
ที่ทันสมัยที่สุด!!! ในเวลานี้...
สนใจร่วมธุรกิจกับเรา คลิ๊ก!!!






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น